เมนู

เพราะอรรถว่า แทงทะลุความมืด. ชื่อว่า วิชชา เพราะอรรถว่า ทำให้
รู้แจ้งก็ได้. ก็บุพเพนิวาสานุสสติญาณซึ่งเกิดขึ้นอยู่ ชื่อว่า วิชชา เพราะ
อรรถว่า ทำลายความมืด ซึ่งตั้งปกปิดขันธ์ที่เคยอยู่อาศัยในกาลก่อน และ
กระทำขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อน ให้รู้แจ้ง. จุตูปปาตญาณ ชื่อว่า
วิชชา เพราะอรรถว่า ทำลายความมืดที่ปกปิดจุติ และกระทำจุติ และปฏิ-
สนธินั้นให้รู้แจ้ง. ญาณ ความรู้ในความสิ้นอาสวะทั้งหลาย ชื่อว่า วิชชา
เพราะอรรถว่า ทำลายความมืดที่ปกปิดสัจจะ 4 และกระทำสัจจะธรรมทั้ง 4
ให้รู้แจ้ง พึงทราบวินิจฉัยในวิหารธรรมต่อไป. สมาบัติ 8 ชื่อว่า ทิพย-
วิหารธรรม. อัปปมัญญา 4 ชื่อว่า พรหมวิหารธรรม ผลสมาบัติชื่อว่า
อริยวิหารธรรม. ปาฏิหาริย์ทั้งหลาย ทรงให้พิสดารแล้วในเกวัฏฏสูตร.
ในคำว่า อิเม โข อาวุโส ดังนี้เป็นต้น พึงประกอบโดยนัยดังกล่าวเเล้ว
นั่นแล. พระเถระเมื่อกล่าวปัญหา 180 ข้อ ด้วยอำนาจ ติกะ 60 ถ้วน
จึงได้แสดงสามัคคีรสไว้ ด้วยประการฉะนั้นแล.
จบหมวด 3

ว่าด้วยธรรมหมวด 4



พระเถระครั้นแสดงสามัคคีรสด้วยอำนาจหมวด 3 ด้วยประการ
ดังนี้แล้ว บัดนี้หวังจะแสดงด้วยอำนาจหมวด 4 จึงเริ่มเทศนาอีก. บรรดา
หมวด 4 เหล่านั้น หมวด 4 ว่าด้วยสติปัฏฐาน ท่านให้พิสดารแล้วใน
เบื้องต้นนั่นเอง. พึงทราบอธิบายในหมวด 4 ว่า ด้วยสัมมัปปธาน. ข้อว่า
ฉนฺทํ ชเนติ ความว่า ให้เกิดกัตตุกัมยตาฉันทะ ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า
ความพอใจ ความเป็นผู้มีความพอใจ ความเป็นผู้ใคร่จะทำอันใด นั้นจัด
เป็นกุศล คือความเป็นผู้มีความพอใจในธรรม. ข้อว่า วายมติ ความว่า